อินเตอร์เน็ตคืออะไร
ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น
1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
**********************************************
ในสังคมยุคข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้ แทบจะไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า “อินเตอร์เน็ต” เหตุเพราะอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกนี้ไปแล้ว ประมาณกันว่าในแต่ละวันมีผู้คนมากกว่า 50 ล้านคนในประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศทั่วโลกกำลังใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่ อาจเป็นนักศึกษาคนหนึ่งในประเทศออสเตรเลียที่กำลังสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นกำลังสั่งซื้อหนังสือจากประเทศไทย เป็นต้น การประกอบกิจกรรมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพของการสื่อสารที่ไร้พรมแดนได้อย่างชัดเจน
การใช้อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยได้ก้าวล่วงเข้าไปในทุกสาขาอาชีพ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะด้านการศึกษาหรือการวิจัยเหมือนเมื่อเริ่มมีการใช้อินเตอร์เน็ตใหม่ๆ ด้วยคุณสมบัติการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขององค์กรทั้งหลาย ได้มีความพยายามนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานของตนในรูปแบบต่างๆ อาทิ การประชาสัมพันธ์องค์กร การโฆษณาสินค้า การค้าขาย การติดต่อสื่อสาร ฯลฯ นอกจากนี้อินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นอีกสื่อหนึ่งของความบันเทิงภายในครอบครัวไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือพิมพ์ก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถกระทำผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น
1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
**********************************************
**IP ADDRESS
คืออะไรอินเตอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ต่ออยู่เป็นล้านเครื่อง หลายท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่าการที่เราส่งอีเมล์ไปยังปลายทางจะไปได้อย่างไร หรือเมื่อเราต้องการ LOGIN เข้าเครื่องอื่นที่อยู่บนเครือข่าย ระบบเครือข่ายรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องนั้นอยู่ที่ใด รหัสหมายเลข IP ประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่องหมายเลขรหัสนี้เรียกว่า IP number ตัวเลข IP แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์กรนำไปปฎิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่าย เพื่อมากำหนดส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ SUN ที่ทำหน้าที่เป็นเกทเวย์สำหรับเมล์ของเครือข่ายนนทรี ชื่อ nontri มีหมายเลข IP เป็นตัวเลขประจำเครื่องนี้มีขนาด 32 บิต แบ่งเป็น 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จะมี 8 บิต แต่เมื่อเรียกรหัสหมายเลข IP นี้ ใช้ตัวเลขฐานสิบแบ่งเป็น 4 ตัว โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวดังนั้นจากตัวเลข 32 บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น 158.108.2.71ตัวเลขไบนารี 32 หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยากแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกตัอง แต่เมื่อกำหนดเลข 4 ฟิลด์ แต่ละฟิลด์มีขนาด 0-255 เมื่อดูแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น เครือข่ายก็มีหลายเลขประจำด้วย การแบ่งเลขหมาย IP ออกเป็น 4 ฟิลด์นั้น ความจริงแล้วตัวเลขที่ประกอบอยู่นั้นเป็นตัวเลขของเครือข่ายประกอบอยู่ด้วย เช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้รหัส 158.108 เครือข่ายของบริษัท IBM ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลก ใช้รหัส 9 ส่วนของบริษัท AT+ T ใช้เลขรหัส IP เป็น 12 ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 192.150.249 เป็นต้น เนื่องจากขนาดของเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีการกำหนดการแบ่งคลาสของเครือข่ายออกเป็นสามคลาสคือ คลาส A. คลาส B. คลาส C. คลาส A. กำหนดตัวเลขเพียงฟิลด์แรกฟิลด์เดียว ที่เหลืออีกสามฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องอยู่ในเครือข่าย คลาส B. กำหนดตัวเลขของฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่องสองฟิลด์ คลาส C. กำหนดตัวเลขสามฟิลด์จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว เมื่อพิจารณาตัวเลข IP ใด ๆ หากตัวเลขขึ้นต้นระหว่าง 1-126 ก็จะเป็นคลาส A. ถ้าขึ้นต้นด้วย 128-191 ก็จะเป็นคลาส B. และขึ้นต้นด้วย 192-223 ก็เป็นคลาส C. (ดูตามตารางที่ 1) การให้หมายเลขเครือข่ายนี้ทางองค์กรบริหารเครือข่ายเป็นผู้กำหนดให้เป็นที่น่าสังเกตุว่า การกำหนดเลขจะกำหนดให้เรียงกันไป ใครขอมาก่อนก็จะให้เลขน้อยเรียงตามลำดับเวลาที่จอและเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะ หมายเลข IP คงจะเต็มพิกัดครบทุกคราสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่าก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว ตารางที่ 1 การแบ่งคลาสของเครือข่ายกับการกำหนดหมายเลขใช้ชื่อดีกว่าเพื่อให้ระบบการเรียกชื่อง่ายขึ้นและการบริหารเครือข่ายทำได้ดี จึงมีการกำหนดชื่นแทนรหัส IP โดยมีการตั้งชื่อสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่บนเครือข่าย เช่น nontri.ku.ac.th ซึ่งแทนหมายเลข 158.108.162 หรือเครื่อง maspar ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบขนานก็ใช้ชื่อ maspar.cpe.ku.ac.th โดยใช้แทนรหัส 158.108.162 ดังนั้นเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะมีการตั้งชื่อเครื่องเพื่อให้รู้จักกันได้ง่ายขึ้น การตั้งชื่อมีการแบ่งเป็นลำดับขั้น ตัวที่อยู่ขวามือสุด คือชื่อย่อประเทศ เช่น th หมายถึงประเทศไทย เรามีชื่อย่ออยู่มากดังตารางที่ 3 ตารางที่ 2 เป็นรหัสเครือขายที่ต่ออยู่ในประเทศไทยนอกจากนี้มีการแบ่งโซน เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มบริหารเครือข่าย การแบ่งกลุ่มโซนแสดงดังตารางที่ 4 สำหรับชื่อลำดับต่อมาเป็นชื่อโดเมนของเครือข่ายหรือชื่อเครือข่ายนั้นเองซึ่งเครือข่ายนี้จะต้องแจ้งลงทะเบียนไว้ โดเมนและการบริหารโดเมนเพื่อให้ระบบการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างมีระบบ จึงมีการกำหนดชื่อเครือข่ายเช่น เครือข่าย 158.108 มีชื่อเครือข่าย ku. ac.th และจัดเป็นหนึ่งโดเมนซึ่งมีเครือข่ายย่อยภายในได้อีก เช่น 158.108.1 เป็นเครือข่ายของศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง 158.108.2 เป็นเครือข่ายของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 158.108.3 เป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้นแต่ละเครือข่ายจะมีชื่อกำกับอีกก็ได้ เช่น เป็น cpc.du.ac.th, cpe.ku.ac.th sci.ku.ac.th เป็นต้น ในการบริหารโดเมนนั้น ภายในระบบจะมี DNS-Domain Name System เป็นฐานข้อมูลและระบบการจัดการชื่อในเครือข่ายให้เป็นระบบ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อมีเอกสารจะส่งมาจากต่างประเทศมีการจ่าหน้าเป็น cc2.cpe.ku.ac.th ส่วนของ th จะถูกแกะก่อน โดยส่วนที่อยู่ที่ uunet ที่สหรัฐอเมริกาจะบอกเส้นทางส่งต่อมาที่ประเทศไทย หลังจากนั้นทางประเทศไทยในส่วน ac จะดำเนินการแกะที่จุฬาลงกรณ์บอกเส้นทางให้วิ่งมาที่เกษตรศาสตร์ ที่เกษตรศาสตร์จะดูแลโดเมนคือเครือข่ายย่อยและระบบเครื่องภายในเครือข่ายเอง ตารางที่ 3 ชื่อย่อประเทศที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตการบริหาร DNS นี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเมื่อมีการต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายเครื่องที่ต่อเข้าระบบจะต้องบอกว่า ฐานข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูล DNS อยู่ที่ใด จะมีการไปปรับปรุงข้อมูลเองอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นหากมีการย้ายเครื่องไปยังเครือข่ายอื่น ก็สามารถปรับปรุงได้เองอย่างอัตโนมัติเช่นกัน ตารางที่ 4 การแบ่งกลุ่มโซนการอ้างอิงยูสเซอร์ในการติดต่อกับยูสเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ใด บนเครือข่ายจะใช้ชื่อยูสเซอร์ของผู้นั้นตามด้วยชื่อเครื่อง แต่คั่นกันด้วยเครื่องหมาย @ เช่นถ้าต้องการติดต่อกับยูสเซอร์ ชื่อ ipcctv บนเครื่อง gmail.com ก็ใช้แอดเดรสดังนี้ ipcctv@gmail.com ดังนั้นในเครื่องหนึ่งอาจมียูสเซอร์ได้เป็นร้อยเป็นพัน ระบบยูสเซอร์บนเครือข่ายจึงเป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจน ผู้ใช้อยู่ที่ใดถ้า login เข้ามาในยูสเซอร์ของตนก็สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ระบบการตั้งชื่อยูสเซอร์จะต้องไม่ซ้ำกัน ในกรณีที่ผู้ใช้อยู่บนเครื่องเดียวกัน อินเตอร์เน็ต : อภิมหาเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากการเชื่อมโยงต่อกันได้อย่างดี ทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เติบโตเดือนละ 20 เปอร์เซนต์ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างน่าทึ่ง จนคาดว่าในอนาคตการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตจะครอบคลุมได้กับทุกองค์กรทั่วโลก
.................................................................................................................................................................
การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์
เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่
ของผู้รับ ซึ่งเป็นที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์ เมื่อผู้ส่งเขียนจดหมายขึ้นมา 1 ฉบับ แล้วส่งไปยังที่อยู่นั้น ผู้รับจะได้รับจดหมายนั้นภายในเวลาไม่นาน แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลกก็ตาม นอกจากนี้ ยังสามารถส่งแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์แนบไปกับอีเมล์ได้ด้วย
เทลเน็ต (Telnet)
เป็นบริการอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง โดยที่เราสามารถเข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น ถ้าเราอยู่ที่โรงเรียนทำงานโดยใช้อินเตอร์เน็ตของโรงเรียน แล้วกลับไปที่บ้านเรามีคอมพิวเตอร์ที่บ้านและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้ เราสามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้เสมือนกับเราทำงานที่โรงเรียนนั่นเอง
การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP)
เป็นการค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวอักษร รูปภาพ และเสียง
การสืบค้นข้อมูล (World Wide Web : WWW, Gopher, Archie)
เป็นการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย โดยใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกได้ แล้วช่วยจัดเรียงข้อมูลข่าวสารตามหัวข้ออย่างมีระบบ แสดงเป็นเมนู จึงทำให้เราสามารถหาข้อมูลได้ง่ายหรือสะดวกขึ้น
การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต : USENET)
เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วโลก สามารถพบปะกัน แสดงความคิดเห็นของตนเอง โดยมีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป (Newgroup) โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหัวข้อต่าง ๆ เช่น หนังสือ การเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น ปัจจุบันมี Usenet มากกว่า 20,000 กลุ่ม จึงนับเป็นเวทีขนาดใหญ่ที่ให้ทุกคนจากทุกมุมโลกสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง
การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี (Internet Relay Chat : IRC))
เป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ตโดยพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน เป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แต่ละคนพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมาได้ในเวลาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศ หรือคนละซีกโลกก็ตาม
การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : E-commerce)
เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ เช่น ขายหนังสือ คอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว ฯลฯ ปัจจุบันมีบริษัทนับหมื่นบริษัทที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำธุรกิจ และให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2540 การค้าขายบนอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าสูงถึง 1 แสนล้านบาท และจะเพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัวในอนาคต ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจแบบใหม่ที่น่าสนใจ และเปิดทางให้ทุกคนเข้ามาทำธุรกิจได้โดยใช้ทุนไม่มากนัก
การให้ความบันเทิง (Entertainment)
บนอินเตอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ทั้งจากประเทศไทย อเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย
...............................................................................................................................................................
โดเมนเนม (Domain Name) คืออะไร?
โดเมนเนม (Domain Name) ก็คือชื่อเว็บไซต์ www.yourwebsite.com หากคุณต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ก่อนอื่นคุณต้องจดโดเมนเนม
ก่อน หรือจะสามารถจดโดเมนเนมและเช่าโฮสติ้งในระยะเวลาเดียวกันได้ คุณต้องทำการเช็คชื่อโดเมนเนมก่อน ถ้าสถานะโดเมนเนมนั้นไม่ว่าง
หมายความว่ามีคนใช้ชื่อโดเมนเนมนั้นไปแล้ว ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถใช้ชื่อโดเมนเนมนั้นได้ คุณต้องเลือกชื่อโดเมนเนมใหม่ที่สถานะยังว่างอยู่
..................................................................................................................................................................